Quantcast
Channel: VNU Asia Pacific
Viewing all articles
Browse latest Browse all 26

อะกริเทคนิก้า เอเชีย และฮอร์ติ เอเชีย และผู้นำภาคอุตสาหกรรมการเกษตรพร้อมขับเคลื่อนเพื่อการเกษตรยั่งยืนในอนาคต

$
0
0

กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 26 เมษายน พ.ศ. 2567 – ปัจจุบันภาคเกษตรกรรมทั่วทุกมุมโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายเร่งด่วน อาทิ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การขาดแคลนอาหาร และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สำหรับแนวทางการแก้ไขเชิงนวัตกรรมกำลังเป็นที่ต้องการมากในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้แบบยั่งยืน งาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย และฮอร์ติ เอเชีย (AGRITECHNICA ASIA และ HORTI ASIA) เป็นงานจัดแสดงเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตรที่ทันสมัยและได้มาตรฐานระดับนานาชาติ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะปฏิวัติแนวทางปฏิบัติด้านการเกษตรและเพิ่มความมั่นคงทางอาหาร การจัดงานในปีนี้ถือเป็นการกลับมาครั้งสำคัญร่วมกับผู้นำภาคอุตสาหกรรมการเกษตรที่พร้อมขับเคลื่อนเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืนในอนาคตทั้งทางด้านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และการแชร์ประสบการณ์ต่างๆ รวมถึงการนำนวัตกรรมที่สามารถมาช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องมลพิษทางอากาศจากการเผาไหม้ด้านการเกษตร

งาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย และฮอร์ติ เอเชีย จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 22-24 พฤษภาคม 2567 ณ. ฮอลล์ 98 – 99 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค ซึ่งงานนี้จัดขึ้นโดยสมาคมเกษตรกรรมเยอรมัน (DLG International) และ บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค จำกัด โดยมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นเจ้าภาพร่วม สำหรับงานในปีนี้มีผู้ประกอบการเข้าร่วมแสดงนวัตกรรมด้านการเกษตรกว่า 300 รายจาก 28 ประเทศ นับเป็นการรวมตัวของผู้นำด้านนวัตกรรมการเกษตรที่หลากหลายในนานาชาติ ตอกย้ำสถานะของงานในฐานะศูนย์กลางด้านเครื่องจักรและนวัตกรรมพืชสวนที่สำคัญในเอเชีย

สำหรับผู้สนใจเข้าชมงานจะมีโอกาสสำรวจเทคโนโลยีที่มีความล้ำสมัยล่าสุดด้านการเกษตรจากผู้ผลิตทางการเกษตรและพืชสวนชั้นนำของโลก อาทิ แบรนด์ แอ็กโค่ (AGCO) กับ แมสซี่ เฟอร์กูสัน (Massey Ferguson), เคส นิว ฮอลแลนด์ (Case New Holland), ฉางฟา (Changfa), คลาส (CLAAS), จอน เดียร์ (John Deere), มาฮินทรา แอนด์ มาฮินทรา (Mahindra & Mahindra), และ เนต้า-ฟิม (Netafim ซึ่งแต่ละเจ้าล้วนเป็นยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรม อยู่ในระดับแนวหน้าด้านการพัฒนาโซลูชั่นเครื่องจักรและเทคโนโลยีทางการเกษตรสามารถจัดการกับความท้าทายที่สำคัญในภาคส่วนนี้ ตั้งแต่การเพิ่มผลผลิตพืชผลไปจนถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำและทรัพยากร

ในปีนี้ งาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย และฮอร์ติ เอเชีย ไม่เพียงแต่จะเน้นนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มผลผลิตของฟาร์ม แต่ยังเน้นหลักปฏิบัติที่ยั่งยืนและเทคโนโลยีการทำฟาร์มอัจฉริยะที่มีส่วนช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและปรับปรุงระบบอาหาร กิจกรรมนี้จะทำหน้าที่เป็นเวทีสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทั่วโลกในการมีส่วนร่วม แบ่งปันองค์ความรู้ และส่งเสริมความร่วมมือที่จะกำหนดอนาคตของการเกษตร

นางแคธาริน่า สแตส์เก้ (Katharina Staske) กรรมการผู้จัดการสมาคมเกษตรกรรมเยอรมัน ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก เน้นย้ำถึงความสำคัญของการจัดงานแสดงสินค้าในปีนี้ ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 4 ของการจัดงาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย โดยมีขนาดและผู้เข้าร่วมแสดงนวัตกรรมทางการเกษตรเพิ่มขี้นกว่าเท่าตัวว่า “ภายในงาน ผู้เข้าชมงานได้พบกับผู้ผลิตชั้นนำจากทุกภาคส่วน รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะปลูกดิน เช่น เล็มเค่น (Lemken) จากประเทศเยอรมนี, แชคติมาน  (Shaktiman) จากประเทศอินเดีย, และ เคดับเบิ้ลยู เมทัล เวิร์ค (KW Metal work) จากประเทศไทย”

นางสแตส์เก้กล่าวเสริมว่า “ปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนเพื่อเข้าชมงานแล้วจาก 62 ประเทศทั่วโลก ตอกย้ำให้เห็นว่า งาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย และฮอร์ติ เอเชีย  เป็นศูนย์กลางระดับนานาชาติสำหรับชุมชนเกษตรกรรมในการเรียนรู้ถึงแนวปฏิบัตด้านความยั่งยืนและนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมทางการเกษตร ภายใต้แนวคิดหลักในปีนี้ “การร่วมสร้างสรรค์และเครือข่ายที่ยั่งยืน” (Co-Creation and Sustainable Networks)

“ในส่วนการประชุมและการเสวนา ในปีนี้ เราจะเจาะลึกถึงประเด็นเร่งด่วน เช่น การลดมลพิษทางอากาศจากการปฏิบัติทางการเกษตร, เส้นทางสู่การบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน, และการนำโซลูชั่นการทำฟาร์มอัจฉริยะมาใช้ ซึ่งการอภิปรายหลักทางงานได้รับความร่วมมือจากองค์กรที่มีชื่อเสียง อาทิ สมาคมเทคโนโลยีอ้อยน้ำตาลแห่งประเทศไทย, สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ, สมาคมวิศวกรรมเกษตรไทย, และสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งเอเชีย”

ทางด้านนางสาวปนัดดา ก๋งม้า รองประธานฝ่ายธุรกิจ บริษัท วีเอ็นยู เอเชียแปซิฟิค จำกัด เน้นถึงความสำคัญของการจัดงาน ฮอร์ติ เอเชีย กล่าวว่า “ในปีนี้นับเป็นการจัดงานครั้งที่ 8 ทางคณะผู้จัดงานฯ มีความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ด้านพืชสวนและเทคโนโลยีการเกษตรอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีบริษัทเข้าร่วมกว่า 300 แห่งจาก 28 ประเทศ รวมถึงผู้นำในอุตสาหกรรมชั้นนำ อาทิ เนต้าฟิม (Netafim) และ คลาสมาน-เดลมันน์ (Klasmaan-Deilmann) ร่วมถึงพันธมิตรอย่าง  ดูมเมน ออ-เร้นจ์ (Dummen Orange) และ อะการิส (Agaris) งานนี้ถือเป็นงานรวมตัวของเหล่าสุดยอดผู้ผลิตนวัตกรรมทางการเกษตรในอุตสาหกรกรรม ทางคณะผู้จัดงานฯ รู้สึกเป็นเกียรติ และภูมิใจที่มีโอกาสได้ร่วมมือกับหน่วยงานและองค์กรสำคัญในภาคส่วนต่างๆ เช่น สถานทูตเนเธอร์แลนด์, สมาคมวิทยาศาสตร์พืชสวนแห่งประเทศไทย, สมาคมเกษตรกรรุ่นใหม่จังหวัดเชียงใหม่ ฯลฯ ถือเป็นการตอกย้ำความสำคัญของภาคอุตสาหกรรมผ่านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และความร่วมมือระดับโลกผ่านงานประชุมและสัมมนาวิชาการภายในงานครั้งนี้”

นางสาวปนัดดา ก๋งม้า กล่าวเสริมว่า “ภายในงานสัมมนา ทางหน่วยงานที่เข้ามาร่วมจัดงานได้คัดสรรหัวข้อที่น่าสนใจมานำเสนอให้กับผู้เข้าชมงาน อาทิ หัวข้อ  ‘นวัตกรรมพืชสวนที่ยั่งยืน: แรงบันดาลใจไทย-ดัตช์ในบริบทโลก’ ซึ่งจะเป็นการให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มของอุตสาหกรรมที่กำลังพัฒนา โดยเน้นการบูรณาการเทคโนโลยีอัจฉริยะและการทำฟาร์มแบบแม่นยำ เรามุ่งมั่นที่จะส่งเสริม ประสิทธิภาพและเสริมสร้างการพัฒนาเชิงก้าวกระโดดให้กับภาคการเกษตรของภูมิภาคโดยการนำเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น การคาดการณ์โรค และการติดตามการผลิตผ่านทางแอปพลิเคชั่นอัจฉริยะ”

ดร. วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ ผู้อำนวยการสำนักกิจการการเกษตรต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เน้นย้ำถึงการตอบสนองเชิงกลยุทธ์ของประเทศไทยต่อความท้าทายทางการเกษตรระดับโลกว่า “เมื่อพิจารณาถึงความท้าทายเร่งด่วนระดับโลกที่เราเผชิญ ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความยั่งยืน และความมั่นคงทางอาหาร จำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะต้องปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกัน” ดร. วนิดาอธิบายว่า “แนวคิดเชิงนวัตกรรมและการทำงานร่วมกันถือเป็นสิ่งสำคัญในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ซึ่งคุณจะพบได้ที่งาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย และฮอร์ติ เอเชีย ซึ่งสอดคล้องกับธีม “การร่วมสร้างสรรค์และเครือข่ายที่ยั่งยืน” ประจำปีนี้อย่างสมบูรณ์แบบ”

ดร. ไกส์ ทูนิสเซ่น (Gijs Theunissen) อัครราชฑูตที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) – สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย เน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างประเทศว่า “การจัดการกับความท้าทายด้านความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืนเมื่อเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับพวกเราในภาคเกษตรกรรม” ดร. ทูนิสเซ่นกล่าวเสริมว่า “ที่ ฮอร์ติ เอเชีย 2567 สถานทูตเนเธอร์แลนด์ร่วมกับพันธมิตรชาวไทย จะเป็นเจ้าภาพการประชุมไทย-ดัตช์ ซึ่งเน้นในหัวข้อ ‘นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนในการปลูกพืชสวน’: แรงบันดาลใจของไทย-ดัตช์ในบริบทระดับโลก’ เป้าหมายของเราคือการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติทางการเกษตรที่เป็นนวัตกรรมและความรู้ด้านพืชสวน เพื่อสนับสนุนความมั่นคงด้านอาหารอย่างยั่งยืน  จึงอยากขอเรียนเชิญทุกคนที่สนใจในประเด็นสำคัญเหล่านี้ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2567 เพื่อมีส่วนร่วมและหารือกับผู้เชี่ยวชาญจากประเทศไทยและเนเธอร์แลนด์”

นายคาร์สเต้น ซีเบลล์ (Karsten Ziebell) หัวหน้าโครงการความร่วมมือทางการเกษตรเยอรมัน-ไทย หรือ GETHAC ให้ข้อมูลว่า วัตถุประสงค์ของโครงการคือการยกระดับความยั่งยืนของการผลิตทางการเกษตรและมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงของภาคเกษตรกรรมของไทย เราจึงอยากเรียนเชิญผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีที่ยั่งยืนสมัยใหม่มาร่วมสร้างโซลูชั่นที่มีประสิทธิภาพในวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 ร่วมกันกับเรา

นางวิไลวรรณ ทวิชศรี เลขาธิการสมาคมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวไทย กล่าวว่า ในความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร สมาคมพืชสวนไทย ชุมชนมะพร้าวนานาชาติ และบริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค จำกัด เราภูมิใจที่ได้เป็นเจ้าภาพการประชุมมะพร้าวนานาชาติครั้งที่ 3 หัวข้อหลักของปีนี้ ‘เทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวอัจฉริยะและโอกาสทางการตลาด’ จะรวบรวมผู้เชี่ยวชาญจาก 6 ประเทศ รวมถึงอินเดีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย การประชุมจะมีระยะเวลา 2 วัน โดยมีการบรรยายเชิงลึกและเยี่ยมชมสวนมะพร้าวหอมในจังหวัดปทุมธานี และโรงงานเครื่องสำอางที่ใช้น้ำมันมะพร้าว เราได้รับการสนับสนุนจากบริษัทเอกชน 8 แห่งและภาครัฐ ผมขอเชิญชวนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกท่านมาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิผลและรับข้อมูลเชิงลึกอันทรงคุณค่าเกี่ยวกับความก้าวหน้าในการผลิตมะพร้าว

สำหรับไฮไลท์ของงานประกอบด้วย:

  • การจัดแสดงนวัตกรรม: จะมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมจากบริษัทผู้แสดงสินค้าชั้นนำระดับนานาชาติกว่า 300 ราย เช่น เนต้าฟิม (Netafim),  คลาสมาน-เดลมันน์ (Klasmaan-Deilmann), ดูมเมน ออเร้นจ์ (Dummen Orange), คลาส (CLAAS), จอน เดียร์ (John Deere), มาฮินทรา และมาฮินทรา (Mahindra & Mahindra), แอ๊คโค่ (AGCO), ซีเอ็นเอช (CNH), และ คลาส (CLAAS)
  • การเจรจาธุรกิจ: มุ่งเน้นเป็นพิเศษในการอำนวยความสะดวกทางธุรกิจระหว่างผู้ผลิตและผู้นำเข้า โดยมีเป้าหมายในการเข้าสู่ตลาดในฟิลิปปินส์หรือไทย
  • การถ่ายทอดองค์ความรู้: จากความร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อให้เกษตรกรไทยกว่า 1,000 รายได้รับข้อมูลเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรจากทั่วโลกผ่านไกด์นำชมงานเพื่อลดช่องว่างทางการสื่อสารและส่งเสริมการเจรจาธุรกิจ

งาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย และฮอร์ติ เอเชีย ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่เป็นเวทีสำหรับจัดแสดงนวัตกรรมทางการเกษตรและพืชสวนระดับนานาชาติเท่านั้น แต่ยังเป็นเวทีสำหรับการอภิปรายแนวทางการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนต่อความท้าทายที่อุตสาหกรรมการเกษตรในปัจจุบันำกำลังเผชิญอยู่ ด้วยแนวทางที่ครอบคลุมซึ่งผสมผสานธุรกิจ นวัตกรรม และการถ่ายทอดความรู้ เหตุการณ์เหล่านี้จึงเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับการเกษตรทั่วโลก

ผู้สนใจเข้าชมงาน สามารถลงทะเบียนตอนนี้เพื่อเข้าร่วมการรวมตัวของผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรและพืชสวนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย และเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดอนาคตของการเกษตร สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนล่วงหน้ามีสิทธิลุ้นรับรางวัลมากมาย และจับจองที่นั่งในงานสัมมนาก่อนใครโดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่สำหรับการลงทะเบียนหน้างานจะมีค่าใช้จ่ายในการเข้าชมงาน

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมและการลงทะเบียน สามารถทำได้ผ่าน:

AGRITECHNICA ASIA ได้ที่ www.agritechnica-asia.com  |  HORTI ASIA ได้ที่ www.horti-asia.com

หากต้องการลงทะเบียนเป็นกลุ่มหรือสอบถามข้อมูลจากสื่อมวลชน สามารถติดต่อได้ที่:

บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค จำกัด – อีเมล์: communications@vnuasiapacific.com หรือโทรศัพท์: +662 111 6611 ต่อ 330-335

สมาคมเกษตรกรรมเยอรมัน – อีเมล์: n.chunhacharti@dlg.org หรือ +66-84-947-9996


Viewing all articles
Browse latest Browse all 26

Trending Articles